ในหนึ่งเฟรม สามารถถ่ายภาพซ้อนได้กี่ภาพ
ในหนึ่งเฟรม ไม่มีการจำกัดปริมาณของภาพถ่ายที่ซ้อนกัน (ตราบใดที่คุณมีกล้องที่สามารถถ่ายภาพซ้อนได้)
การถ่ายภาพซ้อนแบบ double exposures เป็นการถ่ายภาพซ้อนกันสองครั้ง ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด แต่จริงๆ แล้วการถ่ายภาพซ้อนกันสี่หรือห้าชั้นก็ยังเป็นเรื่องปกติ แต่บางครั้ง ช่างภาพอาจจะสนุกหรือมีไอเดียสุดสร้างสรรค์ ก็อาจจะถ่ายซ้อนกันไปตั้งแต่ 10, 20 หรือแม้แต่ 50 ครั้งในเฟรมเดียวเลยก็ได้ ซึ่งถ้าถ่ายด้วยวิธีนี้ ภาพจะออกมามีความชวนฝัน พร่ามัวเล็กน้อย และเต็มด้วยบรรยากาศสุดลึกลับ
เมื่อถ่ายภาพที่ซ้อนกันเยอะๆ สิ่งที่ต้องคำนึงเลย คือภาพถ่ายอาจจะได้รับแสงมากเกินไป ถ้าใช้ฟิลเตอร์ ND ก็จะช่วยได้
การตั้งค่ากล้องของคุณในการถ่ายภาพซ้อนเยอะๆ แอบเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เพราะต้องตั้งค่ารูรับแสงและสปีดชัตเตอร์ให้ออกมาเหมาะสมมากที่สุด
สิ่งที่ต้องคำนึงอีกอย่างเลย คือการจัดองค์ประกอบของภาพ ควรเลือกฉากที่มีความเรียบง่าย เนื่องจากภาพที่มีความยุ่งเหยิงอาจจะยากต้องการมอง ช่างภาพที่ใช้เทคนิคการถ่ายภาพซ้อนลักษณะนี้ มักเลือกวัตถุที่โดดเด่นเพียงอย่างเดียว และถ่ายภาพจากมุมเดียวกันหลายๆ ครั้ง เพื่อสร้างสรรค์ภาพที่ออกมาดูนุ่มนวลและน่าประทับใจ
สอบถามเพิ่มเติม
ถ้าไม่พบคำตอบที่ต้องการค้นหา หรือมีคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ทางอีเมล school@lomography.com เลยนะ พวกเรารอตอบอยู่! : )
ภาพถ่ายจากนักเรียนของเรา
ถ้าคุณอยากแบ่งปันภาพถ่ายกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน Lomo School เพียงแท็ก “multiple exposure” เราจะเลือกภาพถ่ายที่ชอบที่สุดไว้ใน จากแท็ก “multiple exposure”
เรียนรู้เพิ่มเติม
-
การถ่ายภาพซ้อนมีเทคนิคอะไรบ้าง
การถ่ายภาพซ้อนเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยดึงความคิดสร้างสรรค์ของการถ่ายภาพฟิล์มออกมาได้อย่างน่าสนใจ เราเลยมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยให้คุณถ่ายภาพซ้อนได้สนุกมากยิ่งขึ้นมาฝากกัน
-
การถ่ายภาพซ้อนคืออะไร
การถ่ายภาพซ้อน (หรือ MX) คือการถ่ายภาพซ้อนกันตั้งแต่สองภาพขึ้นไปในเฟรมเดียว โดยคุณสามารถถ่ายได้ง่ายๆ โดยใช้กล้องฟิล์มที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นภาพรถไฟที่วิ่งไปบนสวนดอกไม้ หรือภาพถ่ายของกลุ่มเพื่อนที่พาดไปบนตึกระฟ้าก็เป็นไอเดียวที่มีเสน่ห์และสร้างสรรค์มากๆ เลย
-
การถ่ายภาพซ้อนหลาย ๆ ครั้งผ่านกล้อง 110 ทำอย่างไร
กล้อง 110 ของ Lomography ช่วยให้คุณสร้างภาพซ้อนได้อย่างไม่จำกัดในเวลาเพียงไม่กี่วินาที
-
การตั้งค่า ISO ที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างภาพซ้อนคืออะไร
ตั้งค่าความไวแสง (ISO) ของกล้องให้เป็นสองเท่าของค่า ISO ที่ระบุบนกล่องฟิล์ม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการสร้างภาพซ้อน ตัวอย่างเช่น หากคุณใช้ฟิล์ม ISO 400 ให้ตั้งค่า ISO ของกล้องเป็น 800 วิธีนี้จะช่วยแบ่งการรับแสงระหว่างภาพถ่ายแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้ภาพที่ถ่ายสองภาพที่ถูกลดแสง รวมกันเป็นภาพที่มีการรับแสงพอดี
-
ฟิล์ม 35 มม. แบบไหนที่เหมาะกับการถ่ายภาพซ้อนมากที่สุด
การถ่ายภาพซ้อนสามารถใช้ฟิล์มแบบไหนก็ได้ แต่เราแนะนำให้ใช้ฟิล์มขาวดำหรือฟิล์มสีกาทีฟแทนฟิล์มสไลด์ E-6 เพราะละติจูดการรับแสงที่กว้างกว่า ซึ่งหมายความว่าสามารถถ่ายภาพที่ over และ under ได้มากกว่า
-
ฝาหลัง LomoGraflok 4×5 Instant สามารถถ่ายภาพซ้อนได้หรือไม่
การถ่ายภาพซ้อนด้วยฝาหลัง LomoGraflok 4×5 Instant ทำได้ไม่ยาก
-
กล้องฟิล์มสำหรับถ่ายภาพซ้อน รุ่นไหนดีที่สุด
กล้อง Lomography ส่วนใหญ่มีปุ่มถ่ายภาพซ้อนไม่จำกัด หรือ Multiple Exposure ซึ่งสังเกตได้จากไอคอน MX บนตัวกล้อง
-
กล้อง Simple Use สามารถถ่ายภาพซ้อนได้หรือไม่
ถึงแม้ว่ากล้อง Simple Use จะไม่มีปุ่มสำหรับถ่ายภาพซ้อนโดยเฉพาะ หลังจากถ่ายภาพแล้ว ปุ่มชัตเตอร์จะถูกล็อคจนกว่าคุณจะกรอฟิล์มสำหรับถ่ายภาพต่อไป แต่ไม่ต้องห่วงนะ เรายังมีวิธีที่ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพซ้อนได้อยู่
-
Film swap คืออะไร
Film swap คือการคนสองคนถ่ายภาพฟิล์มซ้อนในม้วนเดียวกัน โดยที่คนแรกจะถ่ายฟิล์มให้หมดม้วนก่อน จากนั้นกรอฟิล์ม แล้วค่อยส่งต่อให้คนที่สองถ่ายซ้อนทับลงไป